วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โภชนาการสำหรับผู้ป่วย HIV/AIDS




อาหารที่รับประทานตามปกติอาจจะเพียงพอที่จะให้คุณค่าทางโภชนาการแก่ผู้ติดเชื้อ HIV อยู่แล้ว แต่ผู้ป่วยโรคเอดส์มักจะมีอาการเบื่ออาหารและทานอาหารได้ยากเนื่องจากแผลในปากและคอ โดยเฉพาะเมื่อเริ่มต้องได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาอาจส่งผลให้กระบวนการเผาผลาญอาหารของร่างกายโดยเฉพาะไขมันมีการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย ผู้ป่วยควรจะต้องรับประทานให้มากๆ เพื่อให้ร่างกายพร้อมต่อสู้กับภาวะความเจ็บป่วย และทดแทนน้ำหนักที่สูญเสียไป อาหารที่รับประทานควรจัดให้ครบหมู่และมีความสมดุล และเลือกรับประทานชนิดอาหารในแต่ละวันให้หลากหลาย ครอบคลุมกลุ่มของอาหาร ได้แก่
อาหารกลุ่มแป้ง: เช่น ข้าว ขนมปัง ธัญพืช เผือก เป็นต้น จะให้พลังงานแก่ร่างกาย รวมถึงเกลือแร่ วิตามินและกากใยอาหาร ผู้ป่วยควรทานอาหารกลุ่มนี้ในทุกมื้ออาหาร โดยทานวันละ 4-6 ส่วน (1 ส่วน ประมาณเท่ากับข้าวหนึ่งถ้วย หรือขนมปัง 1 แผ่นหรือธัญพืช เช่น ซีเรียล 1 ชาม)
ผักและผลไม้: ให้วิตามิน เกลือแร่ และ กากใยอาหาร ควรรับประทานทุกวัน วันละ 5 ส่วน (1 ส่วน ประมาณเท่ากับผลไม้ 1 ผล หรือผักสดชามใหญ่ หรือผลไม้แห้ง 1 ถ้วย หรือน้ำผลไม้คั้นสด 1 แก้ว)
เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว: ให้ทั้งโปรตีน เกลือแร่ และวิตามิน ทานวันละ 2-3 ส่วนทุกวัน (1 ส่วน ประมาณเท่ากับไข่ 2 ฟองเล็ก หรือเนื้อหมู ไก่ 100 กรัม หรือ เนื้อปลา 150 กรัม)
ผลิตภัณฑ์จากนม: เช่น นมสด โยเกิร์ต เนยแข็ง ซึ่งเป็นแหล่งของวิตามิน เกลือแร่ และแคลเซียม ควรทานวันละ 3 ส่วน (1 ส่วน ประมาณเท่ากับนม 1 แก้ว หรือโยเกิร์ต 1 ถ้วย หรือเนยแข็ง 1 แผ่น)
ไขมัน: จากน้ำมันพืชที่ใช้ปรุงอาหาร เนย เนยเทียม รวมถึงไขมันที่อยู่ในเนื้อสัตว์ ซึ่งจะให้พลังงาน กรดไขมันที่จำเป็น วิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามิน A, D, E, K แคลเซียมและฟอสเฟต อย่างไรก็ดีหากทานอาหารพวกไขมันมากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดภาวะโรคอ้วน และโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ น้ำมันจากปลาซึ่งมีกรดไขมัน omega-3 สามารถช่วยลดระดับไขมันที่เป็นอันตรายต่อร่างกายเช่น triglycerides และ LDL cholesterol และเพิ่มHDL cholesterol ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายได้
เนื่องจากผู้ป่วยอาจทานอาหารได้ยาก การเปลี่ยนรูปแบบการทานจากมื้อใหญ่ๆ มาเป็นมื้อเล็กๆ แต่ทานบ่อยๆ จะช่วยให้ทานได้ง่ายขึ้น กระเพาะอาหารดูดซึมสารอาหารได้และควรทานอาหารอ่อนๆ ที่ทานได้คล่องคอ
ร่างกายของผู้ติดเชื้อ HIV ที่ยังไม่แสดงอาการ จะมีความต้องการพลังงานจากอาหารมากขึ้นกว่าเดิมประมาณ 10% เพื่อคงน้ำหนักตัวให้คงที่และจะต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอีก 20-30% เมื่อเริ่มแสดงอาการหรือเป็นโรคเอดส์แล้ว ส่วนผู้ป่วยเด็กที่น้ำหนักตัวเริ่มลดจะต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอีกกว่า 50% เพื่อคงน้ำหนักตัวให้คงที่
แม้ว่าในขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาเพียงพอที่จะยืนยันปริมาณโปรตีนและไขมันที่ต้องการเป็นตัวเลขชัดเจน เมื่อติดเชื้อ HIV ผู้ป่วยอาจต้องทานอาหารกลุ่มโปรตีนมากขึ้น 50-100% ของปริมาณปกติ คือประมาณ 85 กรัมต่อวันสำหรับผู้ชาย หรือ 72 กรัมต่อวันสำหรับผู้หญิง เพื่อช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อที่สูญเสียไป และควรมีอาหารกลุ่มที่ให้พลังงานเพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำหนักตัว วิตามินและเกลือแร่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแต่ก็ควรจะได้มาจากการทานอาหารให้เพียงพอ เพราะการทานวิตามินเสริมปริมาณสูง เช่น วิตามินเอ สังกะสีหรือเหล็ก อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เอดส์รักษาให้หายได้หรือไม่




ขณะนี้ยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายได้เป็นเพียงยับยั้งไม่ให้ไวรัสเอดส์เพิ่มจำนวนมากขึ้นในร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอายุยืนยาวได้อีกนานการดูแลสุขภาพด้วยวิธีการทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ยาที่ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์มี 2 ลักษณะคือ

1.ยาต้านไวรัสเอดส์ในปัจจุบัน มี 3 ประเภทคือ

-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NRTIs) ได้แก่ AZT ddl ddC d4T 3TC ABC
-Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs) ได้แก่ NVP EFV
-Protease Inhibitors (Pls) ได้แก่ IDV RTV Q4V NFV

ยาเหล่านี้มีฤิทธิ์เพียงยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเอดส์แต่ไม่สามารถ กำจัดเชื้อเอดส์ให้หมดไปจากร่างกายได้ และมีผลข้างเคียงได้แก่ โลหิตจาง คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นตามผิวหนัง ฯลฯ ดังนั้นการใช้ยาดังกล่าวต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

2.ยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสหากผู้ป่วยเอดส์มีภูมิต้านทานลดลงมาก (ค่าเม็ดเลือดขาว ชนิด CD4 ต่ำกว่า 200 เซลล์ในเลือก 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร) จะมีโอกาสติดโรคฉวยโอกาสเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องได้รับยาป้องกัน เช่น

INH ใช้ป้องกันวัณโรค
Cotrimoxazole Dapsone Aerozolized pentamidine ใช้ป้องกันโรคปอดบวม
Itraconazole Fluconazole Amphotericin B ใช้ป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
Ketoconazole Itraconazole Fluconazole ใช้ป้องกันเชื้อรา

ในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนชนิดใดที่สามารถป้องกันหรือรักษาโรคเอดส์ได้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย คาดว่าต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี จึงจะทราบผลว่าสำเร็จหรือไม่ การดูแลสุขภาพด้วยทางเลือกอื่นเป็นวิธีการส่งเสริมสุขภาพด้วยตนเองอย่างง่ายๆ โดยคำนึงถึงมิติอันหลากหลายของมนุษย์ ไม่เน้นทางด้านร่างกายเท่านั้น อันก่อให้เกิดผลในแง่ป้องกันโรคและฟื้นฟูสภาพทำให้ร่างกายแข็งแรง เพิ่มภูมิต้านทานและมีจิตใจสงบ มี 4 แนวทาง ได้แก่

ด้านโภชนาการ ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่และเหมาะสมกับอาการของโรค เพื่อให้ได้สารอาหารที่จำเป็นครบถ้วนลักษณะอาการเจ็บป่วยที่พบได้บ่อยคือ

น้ำหนักลด ควรเพิ่มอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และแป้ง งดอาหารประเภทไขมัน เนื่องจากย่อยและดูดซึมได้ยาก และควรดื่มน้ำมากๆ
เบื่ออาหาร ควรรับประทานอาหารทีละน้อย แต่บ่อยครั้งและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นแรง
มีแผลในปาก ควรรับประทานอาหารที่เคี้ยวและกลืนได้ง่ายให้พลังงานสูง เป็นน้ำ หลีกเลี่ยงอาหารที่กรอบ แข็งและรสจัด
คลื่นใส้อาเจียน ควรรับประทานอาหารทีละน้อย แต่บ่อยครั้ง งดของทอด ของมัน อาหารที่มีรสเค็มและเปรี้ยวจะช่วยลดอาการนี้ได้ อาหารประเภทขิงจะช่วยให้รับประทานอาหารได้ดีขึ้น
ท้องเสีย ควรเพิ่มอาหารประเภทแป้งหรือสารโปแตสเซียมสูง เช่น ส้ม น้ำมะพร้าว กล้วย มะเขือเทศ ดื่มน้ำมาก ๆ หลีกเลี่ยงของทอด กาแฟ และอาหารที่มีเส้นใย เช่น ถั่วลิสง ข้าวกล้อง

สมุนไพร คือ ตัวยาที่ได้จากพืชสัตว์ และแร่ธาตุที่ยังไม่ได้แปรสภาพ มีฤทธิ์กะตุ้นภูมิคุ้มกันและบรรเทาอาการโรคติดเชื้อฉวยโอกาสบางชนิดได้แก่

บรรเทาอาการท้องเสีย เช่น ฟ้าทะลายโจร ฝรั่ง ชา และมังคุด
ลดไข้ เช่น ฟ้าทะลายโจร มะระ
กระตุ้นให้อยากอาหาร เช่น บอระเพ็ด มะระ กระเทียม
กระตุ้นภูมิคุ้มกัน เช่น มะขามป้อม กระเทียม ฟ้าทะลายโจร
ขับเสมหะ และบรรเทาอาการไอ เช่น มะขามป้อม มะนาว มะแว้งเครือ และมะแว้งต้น
ขับลม เช่น กระเพราะ ตะไคร้ ขิง
บรรเทาอาการทางผิวหนัง เช่น เสลดพังพอนตัวเมีย หรือพญายอ เหงือกปลาหมอ พลู
สมานแผล เช่น ว่านหางจระเข้ แค ทับทิม
ช่วยระบายท้อง เช่น ขี้เหล็ก
บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน เช่น ยอ

อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลใดทางการแพทย์ที่ยืนยันผลของสมุนไพรในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเอดส์ ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนศึกษาวิจัย

2.3 การออกกำลังกาย เสมือนเป็นยาอายุวัฒนะที่ช่วยให้มีอายุยืนยาวอารมณ์แจ่มใส นอนหลับง่าย รูปร่างสมส่วน สุขภาพแข็งแรง ควรออกกำลังกายทุกวันอย่างสม่ำเสมอ และเหมาะสมกับสภาพร่างกาย

2.4 การปฏิบัติสมาธิ เป็นกระบวนการที่จิตตั้งมั่นจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ต้องการ และเพิ่มความสามารถในการควบคุม และเสริมสร้างสุขภาพในด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และวิญญาณดีขึ้น อาจทำได้โดย

2.4.1 การปฏิบัติโดยมีผู้ช่วยเหลือ เช่น พระสงฆ์ช่วยให้คำปรึกษา


2.4.2 การปฏิบัติสมาธิด้วยตนเอง เช่น

สมาธิโดยการกำหนดลมหายใจ
สมาธิโดยการเดินจงกรม
สมาธิโดยใช้เทคนิคความเงียบ
สมาธิ แบบทำให้สนุกเพลิดเพลินโดยการใช้ภาพจินตนาการที่คิดถึงแล้วรู้สึกสงบ สบาย เพลิดเพลิน

ถุงยางอนามัย




ถุงยางอนามัย
จากการที่ผู้ป่วยโรคเอดส์ร้อยละ 84 ได้รับเชื้อเอดส์มาจากการมีเพศสัมพันธ์ มาตรการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อเอดส์ จึงเน้นที่การรณรงค์ให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่เหมาะสม รักเดียว-ใจเดียว มีคู่เพศสัมพันธ์เพียงคนเดียว แต่ก็ยังคงมีการแพร่ระบาดทางเพศสัมพันธ์ในระดับสูง มาตรการส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยจึงเป็นมาตรการสำคัญที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาทางเพศสัมพันธ์จากการเฝ้าระวันพฤติกรรม เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ทางเพศสัมพันธ์ใน กลุ่มประชากรที่มีอายุ 15 - 29 ปี พบว่าอัตราการใช้ ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์นอกสมรสน้อยกว่าร้อยละ 30 ทั้งนี้เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังคงมีเจตคติต่อถุงยางอนามัยในเชิงลบ เช่น คิดว่าถุงยางอนามัยให้ความรู้สึกที่ไม่เป็นธรรมชาติ ไม่มั่นใจในคุณภาพของถุงยางอนามัยกลัวคู่นอนคิดว่าตัวเองติดเชื้อและไม่แน่ใจว่าถุงยางอนามัยจะป้อง กันโรคได้
แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะมีความรู้เรื่องโรคเอดส์ และวิธีการป้องกันการติดเชื้อเอดส์เป็นอย่างดี แต่ก็ยังไม่นิยมใช้ถุงยางอนามัย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความตระหนักถึงประโยชน์ของถุงยางอนามัย เพื่อให้ยอมรับการใช้ถุงยางอนามัยมากยิ่งขึ้น และเพื่อลดอัตราการติดเชื้อเอดส์ให้น้อยลง โดยการเน้นความน่าเชื่อถือในคุณภาพและแสดงถึงความรอบคอบ และปรับเปลี่ยนค่านิยมที่ตีตราว่าถุงยางอนามัยเป็นสัญญลักษณ์ของความสำส่อนทางเพศ ให้สื่อแสดงว่าถุงยางเป็น เครื่องใช้ที่บ่งบอกถึงความรอบคอบระมัดระวังรวมทั้งต้องส่งเสริมสนับสนุนและควบคุมตรวจสอบการผลิตถุงยางอนามัยให้มีมาตรฐานคุณภาพดีสร้างความมั่นใจต่อประชาชนผู้บริโภคว่ามีความปลอดภัยในการป้องกันการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์และเชื้อเอดส์ได้ถุงยางอนามัยหรือ Condom เป็นผลิตภัณฑ์จากน้ำยางธรรมชาติ น้ำยางสังเคราะห์หรือวัตถุอื่น ๆ ใช้สวมอวัยวะเพศชายในขณะร่วมเพศ เพื่อป้องกันการหลั่งน้ำอสุจิเข้าสู่ช่องคลอด เป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ ถุงยางอนามัยมีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น ถุง ปลอก เสื้อฝน เสื้อเกราะ มีชัย สุลต่าน ในภาษาอังกฤษเรียกว่า condom,skin,sheath,prophylactics เป็นต้น


ขบวนการผลิตถุงยางอนามัยประกอบด้วย 6 ขั้นตอนคือ
การผสม
การขึ้นรูปถุงยางอนามัย
การอบแห้งและทำให้ยางคงรูป
การตรวจสอบหารอยรั่วด้วย ไฟฟ้า
การเติมสารหล่อลื่นและการบรรจุถุงยางอนามัย
การควบคุมคุณภาพถุงยางอนามัย
ซึ่งผู้ผลิตจะทำการควบคุมคุณภาพ ตั้งแต่การควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ การควบคุมคุณภาพระหว่างการผลิต และการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปตามมาตรฐานที่กำหนด นอกจากนี้ภาครัฐยังได้ส่งเสริมมาตรการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2535 โดยการริเริ่มโครงการตรวจสอบคุณภาพถุงยางอนามัยก่อนออกจำหน่าย โดยกำหนดให้ถุงยางอนามัยทุกรุ่นการผลิต หรือนำเข้าจะต้องส่งตัวอย่างให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจวิเคราะห์คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดหากพบว่าได้มาตรฐานจึงจะอนุญาตให้จำหน่ายได้ในกรณีที่คุณภาพไม่เข้ามาตรฐานจะต้องทำลายหรือส่งกลับประเทศผู้ผลิตทันทีมาตรการดังกล่าวจึงเป็นเสมือนการกลั่นกรองคุณภาพถุงยางอนามัยก่อนถึงมือผู้บริโภคตลอดจนเป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในการที่จะผลิตหรือนำเข้าเฉพาะถุงยางอนามัยที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพเป็นที่น่าเชื่อถือแก่ผู้ใช้อย่างไรก็ตามแม้ว่าถุงยางอนามัยที่วางจำหน่ายในท้องตลาดจะผ่านขั้นตอนการผลิต และการควบคุมคุณภาพเป็นอย่างดี ทั้งในส่วนของผู้ผลิตและภาครัฐแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถเป็นหลักประกันได้ว่าถุงยางอนามัยทุกชิ้นที่วางจำหน่ายในท้องตลาดมีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีเนื่องจากถุงยางอนามัยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากน้ำยางธรรมชาติ ซึ่งมีคุณสมบัติที่จะเสื่อมสลายได้ตามระยะเวลา และสภาพการเก็บรักษา อาจมีส่วนทำให้ถุงยางอนามัยเสื่อมคุณภาพก่อนเวลาอันควรหรือก่อนวันสิ้นอายุที่ระบุไว้บนฉลากเมื่อนำถุงยางอนามัยไปใช้งานจะสามารถใช้คุมกำเนิดหรือป้องกันโรคได้แน่นอนหรือไม่ มิได้ขึ้นกับคุณภาพของถุงยางอนามัยเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับวิธีการใช้ว่าใช้ถูกต้องหรือไม่ หมดอายุการใช้งานหรือยัง หรืออาจแตกขณะใช้ สาเหตุเนื่องจากบางครั้งผู้ใช้อาจละเลย หรือมิได้คำนึงถึงเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งได้แก่ การเลือกซื้อ การเก็บรักษาและวิธีการใช้หากผู้ใช้ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวและมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ถุงยางอนามัยสำหรับคุมกำเนิดและป้องกันโรค ตลอดจนสามารถทำให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อถุงยางอนามัย


ชนิดของถุงยาอนามัย
ถุงยางอนามัยแบ่งชนิดตามลักษณะผิว เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดผิวเรียบ และชนิดผิวไม่เรียบ
การเลือกซื้อควรสังเกตดู ว่าเป็นชนิดที่ตรงกับความต้องการของตนเองหรือไม่ นอกจากนี้ ผู้ซื้อควรสังเกตข้อความอื่น ๆ ว่าครบถ้วน และตรงกับความต้องการหรือไม่ เช่น ชื่อผู้ผลิต หรือผู้นำเข้า รุ่นที่ผลิต เดือนปีที่ผลิต มีสารหล่อลื่น หรือสารฆ่าเชื้ออสุจิ มีสารแต่งกลิ่นหรือไม่ ฯลฯ


ประเภทของถุงยาอนามัย
ุ ถุงยางอนามัยแบ่งประเภทตามขนาดความกว้าง ( ครึ่งหนึ่งของเส้นรอบวงของถุงยางนามัย ) เป็น 13 ขนาด คือ 44 , 45 , 46 , 47 , 48 , 49 ,50 , 51 ,52 , 53 , 54 , 55 และ 56 มิลลิเมตร (มม.) ขนาดที่มีจำหน่ายในเมืองไทยส่วนใหญ่จะเป็นขนาด 49 มม. มม. และ 52 มม.จากการสำรวจพบว่าปกติชายไทยจะใช้ถุงยางอนามัยขนาด 49 มม. หากเป็นชายไทยรุ่นใหม่ ขนาด 52 มม. จะเหมาะสมกว่า การเลือกซื้อคงจะต้องซื้อในขนาดที่เคยใช้สวมใส่มาแล้ว หากมีขนาดใหญ่เกินไปจะหลวมและหลุดง่าย หากเล็กไปจะฉีกขาดได้ง่าย ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้สึกไม่อยากใช้และมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อถุงยางอนามัย

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

อาการของผู้ที่ติดเชื้อเอดส์


เอดส์ มีอาการอย่างไร
คนที่สัมผัสกับโรคเอดส์หรือคนที่ได้รับเชื้อเอดส์เข้าไปในร่างกายม่จำเป็นต้องมีการติดเชื้อเอดส์เสมอไปขึ้นกับจำนวนครั้งที่สัมผัสจำนวนและความดุร้ายของไวรัสเอดส์ที่เข้าสู่ร่างกายและภาวะภูมิต้านทานของร่างกายถ้ามีการติดเชื้ออาการที่เกิดขึ้นมีได้หลายรูปแบบหรือหลายระยะตามการดำเนินของโรค
ระยะที่ 1 : ระยะที่ไม่มีอาการอะไร
ภายใน2-3 อาทิตย์แรกหลังจากได้รับเชื้อเอดส์เข้าไป ราวร้อยละ 10 ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายๆ ไข้หวัด คือมีไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต ผื่นตามตัว แขน ขาชาหรืออ่อนแรง เป็นอยู่ราว 10-14 วันก็จะหายไปเอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจไม่สังเกต นึกว่าคงเป็นไข้หวัดธรรมดาราว 6-8 สัปดาห์ภายหลังติดเชื้อ ถ้าตรวจเลือดจะเริ่มพบว่ามีเลือดเอดส์บวกได้ และส่วนใหญ่จะตรวจพบว่ามีเลือดเอดส์บวกภายหลัง 3 เดือนไปแล้ว โดยที่ผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการอะไรเลยเพียงแต่ถ้าไปตรวจก็จะพบว่ามีภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสเอดส์อยู่ในเลือดหรือที่เรียกว่าเลือดเอดส์บวกซึ่งแสดงว่ามีการติดเชื้อเอดส์เข้าไปแล้วร่างกายจึงตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนบางอย่างขึ้นมาทำปฏิกิริยากับไวรัสเอดส์เรียกว่าแอนติบอดีย์(antibody)เป็นเครื่องแสดงว่าเคยมีเชื้อเอดส์เข้าสู่ร่างกายมาแล้วแต่ก็ไม่สามารถจะเอาชนะไวรัสเอดส์ได้คนที่มีเลือดเอดส์บวกจะมีไวรัสเอดส์อยู่ในตัวและสามารถแพร่โรคให้กับคนอื่นได้ น้อยกว่าร้อยละ 5 ของคนที่ติดเชื้ออาจต้องรอถึง 6 เดือนกว่าจะมีเลือดเอดส์บวกได ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงมา เช่น แอบไปมีสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา โดยไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัยป้องกัน ตรวจตอน 3 เดือน แล้วไม่พบก็ต้องไปตรวจซ้ำอีกตอน6เดือนโดยในระหว่างนั้นก็ต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเวลามีเพศสัมพันธ์กับภรรยาและห้ามบริจาคโลหิตให้ใครในระหว่างนั้นผู้ติดเชื้อบางรายอาจมีต่อมน้ำเหลืองตามตัวโตได้โดยโตอยู่เป็นระยะเวลานานๆ คือเป็นเดือนๆ ขึ้นไป ซึ่งบางรายอาจคลำพบเอง หรือไปหาแพทย์แล้วแพทย์คลำพบ ต่อมน้ำเหลืองที่โตนี้มีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ แข็งๆ ขนาด1-2 เซนติเมตร อยู่ใต้ผิวหนังบริเวณด้านข้างคอทั้ง 2 ข้าง(รูปที่ 2) ข้างละหลายเม็ดในแนวเดียวกัน คลำดูแล้วคลายลูกประคำที่คอไม่เจ็บ ไม่แดง นอกจากที่คอต่อมน้ำเหลืองที่โตยังอาจพบได้ที่รักแร้และขาหนีบทั้ง 2 ข้าง แต่ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบมีความสำคัญน้อยกว่าที่อื่นเพราะพบได้บ่อยในคนปกติทั่วไป ต่อมน้ำเหลืองเหล่านี้จะเป็นที่พักพิงในช่วงแรกของไวรัสเอดส์ โดยไวรัสเอดส์จะแบ่งตัวอย่างมากในต่อมน้ำเหลืองที่โตเหล่านี้
ระยะที่ 2 : ระยะที่เริ่มมีอาการหรือระยะที่มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์
เป็นระยะที่คนไข้เริ่มมีอาการ แต่อาการนั้นยังไม่มากถึงกับจะเรียกว่าเป็นโรคเอดส์เต็มขั้น อาการในช่วงนี้อาจเป็นไข้เรื้อรัง น้ำ หนักลด หรือท้องเสียงเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุ นอกจากนี้อาจมีเชื้อราในช่องปาก(รูปที่ 3), งูสวัด(รูปที่ 4), เริมในช่องปาก หรืออวัยวะ เพศ ผื่นคันตามแขนขา และลำตัวคล้ายคนแพ้น้ำลายยุง(รูปที่ 5) จะเห็นได้ว่า อาการที่เรียกว่าสัมพันธ์กับเอดส์นั้น ไม่จำเพาะสำหรับโรคเอดส์เสมอไป คนที่เป็นโรคอื่นๆ ก็อาจมีไข้ น้ำหนักลด ท้องเสีย เชื้อราในช่องปาก งูสวัด หรือเริมได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่าถ้ามีอาการเหล่านี้จะต้องเหมาว่าติดเชื้อเอดส์ไปทุกร้าย ถ้าสงสัยควรปรึกษา แพทย์และตรวจเลือดเอดส์พิสูจน์
ระยะที่ 3 : ระยะโรคเอดส์เต็มขั้น หรือที่ภาษาทางการเรียกว่าโรคเอดส์
เป็นระยะที่ภูมิต้านทานของร่ายกายเสียไปมากแล้วผู้ป่วยจะมีอาการของการติดเชื้อจำพวกเชื้อฉกฉวยโอกาสบ่อยๆและเป็นมะเร็งบางชนิดเช่นแคโปซี่ซาร์โคมา(Kaposi'ssarcoma)และมะเร็งปากมดลูก การติดเชื้อฉกฉวยโอกาสหมายถึงการติดเชื้อที่ปกติมีความรุนแรงต่ำไม่ก่อโรคในคนปกติแต่ถ้าคนนั้นมีภูมิต้านทานต่ำลงเช่นจากการเป็นมะเร็งหรือจากการได้รับยาละทำให้เกิดวัณโรคที่ปอดต่อมน้ำเหลืองตับหรือสมองได้ รองลงมาคือเชื้อพยาธิที่ชื่อว่านิวโมซิส-ตีส-คารินิไอ ซึ่งทำให้เกิดปอดบวมขึ้นได้(ไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ) ต่อมาเป็นเชื้อราที่ชื่อ คริปโตคอคคัสซึ่งทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีอาการไข้ ปวดศีรษะ ซึมและอาเจียน นอกจากนี้ยังมีเชื้อฉกฉวยโอกาสอีกหลายชนิด เช่นเชื้อพยาธิที่ทำให้ท้องเสียเรื้อรัง และเชื้อซัยโตเมก กะโลไวรัส (CMV) ที่จอตาทำให้ตาบอด หรือที่ลำไส้ทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย และถ่ายเป็นเลือดเป็นต้นในภาคเหนือตอนบน มีเชื้อราพิเศษ ชนิดหนึ่งชื่อ เพนนิซิเลียว มาร์เนฟฟิโอ ชอบทำให้ติดเชื้อที่ผิวหนัง(รูปที่ 6) ต่อมน้ำเหลืองและมีการติดเชื้อในกระแสโลหิตแคโปซี่ ซาร์โค มา เป็นมะเร็งของผนังเส้นเลือด ส่วนใหญ่จะพบตามเส้นเลือดที่ผิวหนัง มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีม่วงๆ แดงๆ บนผิวหนัง คล้ายจุดห้อเลือด หรือไฝ ไม่เจ็บไม่คันค่อยๆ ลามใหญ่ขึ้น ส่วนจะมีหลายตุ่ม(รูปที่ 7) บางครั้งอาจแตกเป็นแผล เลือดออกได้ บางครั้งแคโปซี่ซาร์โคมา อาจเกิดในช่องปากในเยื่อบุทางเดินอาหาร ซึ่งอาจทำให้มีเลือดออกมากๆ ได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือมะเร็งปากมดลูกได้ ดังนั้นผู้หญิงที่ติดเชื้อเอดส์จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก 6 เดือน นอกจากนี้คนไข้โรคเอดส์เต็มขั้นอาจมีอาการทางจิตทางประสาทได้ด้วยโดยที่อาจมีอาการหลงลืมก่อนวัย เนื่องจากสมองฝ่อเหี่ยว หรือมีอาการของโรคจิต หรืออาการชักกระตุก ไม่รู้สึกตัว แขนขาชาหรือไม่มีแรง บางรายอาจมีอาการปวดร้าวคล้ายไฟช๊อตหรือปวดแสบปวดร้อน หรืออาจเป็นอัมพาตครึ่งท่อน ปัสสาวะ อุจจาระไม่ออก เป็นต้น ในแต่ละปีหลังติดเชื้อเอดส์ร้อยละ 5-6 ของผู้ที่ติดเชื้อจะก้าวเข้าสู่ระยะเอดส์เต็มขั้นส่วนใหญ่ของคนที่เป็นโรคเอดส์เต็มขั้นแล้ว จะเสียชีวิตภายใน2-4 ปี จากโรคติดเชื้อฉกฉวยโอกาสที่เป็นมาก รักษาไม่ไห หรือโรคติดเชื้อที่ยังไม่มียาที่จะรักษาอย่างได้ผล หรือเสียชีวิตจากมะเร็งที่เป็นมากๆ หรือค่อยๆ ซูบซีดหมดแรงไปในที่สุด พบว่ายาต้านไวรัสเอดส์ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้ในประเทศตะวันตกสามารถยืดชีวิตคนไข้ออกไปได้10 - 20 ปีและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น หรืออาจอยู่จนแก่ตายได้

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความหมายโรคเอดส์


เนื่องจากในปัจจุบันนี้ โรคเอดส์เป็นโรคที่ร้ายแรงมากและมีการระบาดอย่างรุนแรงแม้แต่ใน หมู่เด็กและวัยรุ่น และโรคเอดส์ยังเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
ดังนั้นจึงได้มีการจัดทำ blog นี้ขึ้น เพื่อให้ทุกท่านตระหนักถึงภัยอันตรายของโรคเอดส์ และรู้จักวิธีการป้องกันและการรักษาโรคเอดส์ หวังว่า blog นี้คงเป็นประโยขน์แก่ทุกท่านที่เข้ามา ชมไม่มากก็น้อย หากมีข้อผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมายัง ณ ที่นี้ด้วยคับ


เอดส์คืออะไร
โรคเอดส์เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ไวรัสเอดส์ หรือมีชื่อภาษาอังกฤษว่า HIV
(เอช-ไอ-วี) ซึ่งย่อมาจาก Human immunodeficiency Virus เมื่อไวรัสเอดส์เข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปภายในเซลล์บางชนิดของร่างกาย จะมีการฟักตัวระยะหนึ่งซึ่งอาจนานเป็นปีหรือนานกว่า 10 ปี โดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ต่อมาไวรัสจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย จนสามารถทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกายให้เสื่อมหรือเสียไปเรื่อยๆ ผู้ป่วยจึงมักมีการติดเชื้อโรคต่างๆได้ง่าย ในที่สุดร่างกายก็ไม่สามารถทนทานได้ และจะเสียชีวิตในที่สุด


ทำไมจึงเรียกว่าโรคเอดส์ (AIDS)
AIDS มาจากคำเต็มว่า Acuquired immune Deficiency Syndrome
A = Acquired หมายถึง เกิดขึ้นภายหลัง ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด
I = Immune หมายถึง ระบบภูมิต้านทานหรือระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
D = Deficiency หมายถึง ความบกพร่อง การขาดไปหรือเสื่อม
S = Syndrome หมายถึง กลุ่มอาการหรือโรคที่มีอาการหลายๆอย่าง
เอดส์ (AIDS) จึงหมายถึงกลุ่มอาการของภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เกิดขึ้นภายหลัง

ลักษณะพิเศษของเชื้อเอดส์
เป็นไวรัสกลุ่ม Retrovirus เป็นไวรัสที่เพิ่งค้นพบได้ไม่นานเมื่อเทียบกับไวรัสอื่นๆ เชื้อไวรัสชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากเชื้อไวรัสอื่นๆ ดังนี้คือ
- มันสามารถหลบเลี่ยงจากการถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกายคนปกติได้ด้วยการเข้าหลบอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-Lymphocytes ทำให้ Antibodies ที่ถูกสร้างขึ้นไม่สามารถทำอันตรายต่อเชื้อเอดส์ที่บุกรุกเข้ามาในร่างกายได้
- สามารถนำเอาส่วนของ gene ของตัวมันเข้าไปแฝงเป็นส่วนหนึ่งของ gene ของเม็ดเลือดขาวของคนเรา แล้วอาศัย enzyme พิเศษที่ไม่มีในไวรัสชนิดอื่นที่เรียกว่า Reverse Transcriptase enzyme เป็นตัวกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวให้มีการสร้าง gene โดยที่ตัวมันไม่ต้องแบ่งตัวเอง ทำให้มีการเพิ่มจำนวน gene ของไวรัสได้อย่างรวดเร็วจนสามารถทำลายเม็ดเลือดขาวที่มันอาศัยอยู่นั้นได้
- สามารถกระตุ้นให้เซลล์บางชนิดของร่างกายมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นมะเร็งชนิดต่างๆได้ เช่น กระตุ้นให้เซลล์เยื่อบุหลอดเลือดแบ่งตัวมากจนเกิดเป็นมะเร็งที่เรียกว่า Kaposi’s Sarcoma หรือสามารถกระตุ้นให้เซลล์ต่อมน้ำเหลืองแบ่งตั จนเกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่เรียกว่า Lymphoma ได้ เป็นต้น

เชื้อเอดส์หรือไวรัสเอดส์ (HIV) คืออะไร
เชื้อเอดส์มีชื่อว่า HIV มาจากคำเต็มว่า Human Immunodeficiency Virus
H = Human หมายถึง คน หรือ มนุษย์
I = Immunodeficiency หมายถึง ภูมิต้านทานโรคบกพร่องหรือเสียไป
V = Virus หมายถึง เชื้อโรคที่มีขนาดเล็กมากจนเราไม่
สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ทำให้เกิดโรคร้ายแรงต่างๆได้ถ้าเข้าไปในร่างกาย

HIV จึงหมายถึง เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กมาก และถ้าเข้าไปในร่างกายก็จะทำให้ภูมิต้านทานโรคของเราเสียไป และร่างกายก็จะไม่สามารถต้านทานโรคต่างๆได้ จึงล้มป่วยด้วยโรคนั้นๆ


ผมเองครับ